สิ่งแรก ๆ ที่ควรคำนึงถึงเมื่อจะมีการออกแบบและสร้างผลงานมัลติมีเดีย คือ ต้องรู้จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานนั้นๆ นอกเหนือจากนี้คุณค่าของงานยังขึ้นอยู่กับหลักสำคัญ 3 ประการ ที่ต้องมีอยู่ในงานออกแบบ
1. ความสวยงาม (Aesthetic)
ถ้าให้เปรียบเทียบงาน 2 ชิ้น ที่มีกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ รวมถึงเนื้อหาในการนำเสนอที่เหมือนกันแล้ว งานชิ้นที่ได้เปรียบและสร้างความน่าสนใจให้แก่ผู้ใช้มากกว่า คือชิ้นที่มีความสวยงาม ได้รับการออกแบบมาอย่างดี ทั้งในด้านสีสัน รูปภาพ การจัดวาง เนื่องจากความสวยงามเป็นความพึงพอใจที่รับรู้ได้เป็นอย่างแรกของมนุษย์ แม้แต่เด็กเล็กก็สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนสวยงามและไม่สวยงาม สังเกตได้จากการเลือกหยิบจับวัตถุต่างๆ โดยจะเลือกชิ้นที่มีสีสันสดใสมากกว่าชิ้นที่มีสีสันหม่นหมอง
2. ประโยชน์ใช้สอย (Function)
นอกเหนือจากจุดเด่นในเรื่องของความงามที่ทำให้งานน่าสนใจและมีคุณค่าแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือประโยชน์ใช้สอยของการออกแบบ ต้องคำนึงถึงความสามารถในการใช้ได้จริงของงานออกแบบ ถ้าสวยแต่ไม่สามารถใช้งาน หรือไม่สามารถสื่อสารได้ดีแล้ว งานออกแบบก็ไม่มีคุณค่า เช่น ถ้าเป็นสื่อที่มีการใช้ข้อความ ก็ต้องเป็นข้อความที่อ่านได้ง่าย เห็นได้ชัดเจน หรือภาพที่ใช้สื่อสารต้องตรงกับข้อมูลที่ต้องการสื่อออกไป หรือถ้าเป็นงานออกแบบบรรจุภัณฑ์นอกจากสวยงามแล้วยังต้องสามารถเก็บรักษาของที่ที่บรรจุอยู่ภายในได้อย่างปลอดภัย
3. แนวคิดและการสื่อความหมาย (Concept)
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการออกแบบที่ดี คือ มีแนวคิดที่ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งานออกแบบมีคุณค่ามากขึ้น ต่อให้งานออกแบบสวยงามแต่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานออกแบบหรือสิ่งที่ผู้ออกแบบคิดไว้ได้ งานนั้นก็จะมีคุณค่าลดลง
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Social (Multi) Media
เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) หมายถึงกลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมมีการทำกิจกรรมร่วมกันบนอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบของเว็บไซต์มีการแผ่ขยายออกไปเรื่อย ๆ เป็นรูปแบบของการสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสังคมขึ้นมา การสร้างชุมชนใหม่บนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งเพื่อการศึกษา ธุรกิจ และความบันเทิง
ทุกวันนี้จึงมีคนใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์มากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ Social Media ที่ผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้ทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือ เช่น กระดานความคิดเห็น เว็บบล็อก วิกิ (wiki) Podcast รูปภาพ และวิดีโอ โดยมีเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหา (content) เหล่านี้ ได้แก่ เว็บบล็อก เว็บไซต์ที่แชร์รูปภาพ แชร์เพลง แชร์วิดีโอ เว็บบอร์ด อีเมล์ IM (Instant Massage) เครื่องมือที่ให้บริการ เช่น Voice over IP ส่วนเว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network ได้แก่ Google Group Facebook MySpace หรือ Youtube เป็นต้น
ตัวอย่าง Social Media ในหมวดมัลติมีเดีย (Multimedia) ได้แก่
• Photo Sharing เว็บที่แบ่งปันการใช้งานรูป เช่น Flickr, Zooomr, Photobucket, SmugMug
• Video Sharing แบ่งปันวิดีโอ เช่น YouTube, Vimeo, Revver
• Art Sharing แบ่งปันภาพศิลปะ deviantART
• Livecasting การถ่ายทอดสด : Ustream.tv, Justin.tv, Skype
• Audio and Music Sharing เว็บที่มีการแชร์เพลงจากสถานีวิทยุ และเว็บเพลงหรือดนตรี เช่น imeem, The Hype Machine, Last.fm, ccMixter
ดังนั้น Social Media จะกลายเป็นประสบการณ์ที่ฝังลึกเข้ามาในกิจกรรมต่างๆ ของเรา - เราจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ จากอุปกรณ์หรือแพล็ตฟอร์มใดๆ ได้ไม่จำกัด เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้าง และผสมผสานเนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบของวิดีโอ, รูปภาพ และข้อความ ไปด้วยกันพร้อมๆ กับคนอื่นๆ ในสังคม ในทุกช่วงเวลาของวัน ไม่ว่าจะขณะทำงาน ขณะเล่นเกม หรือแม้แต่ตอนซื้อของช็อปปิ้ง ซึ่งก็จะทำให้เราเห็นความเคลื่อนไหวของผู้คนบนโลกราวกับว่าทุกสิ่งทุกอย่างปรากฎอยู่เบื้องหน้า
ทุกวันนี้จึงมีคนใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์มากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ Social Media ที่ผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้ทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือ เช่น กระดานความคิดเห็น เว็บบล็อก วิกิ (wiki) Podcast รูปภาพ และวิดีโอ โดยมีเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหา (content) เหล่านี้ ได้แก่ เว็บบล็อก เว็บไซต์ที่แชร์รูปภาพ แชร์เพลง แชร์วิดีโอ เว็บบอร์ด อีเมล์ IM (Instant Massage) เครื่องมือที่ให้บริการ เช่น Voice over IP ส่วนเว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network ได้แก่ Google Group Facebook MySpace หรือ Youtube เป็นต้น
ตัวอย่าง Social Media ในหมวดมัลติมีเดีย (Multimedia) ได้แก่
• Photo Sharing เว็บที่แบ่งปันการใช้งานรูป เช่น Flickr, Zooomr, Photobucket, SmugMug
• Video Sharing แบ่งปันวิดีโอ เช่น YouTube, Vimeo, Revver
• Art Sharing แบ่งปันภาพศิลปะ deviantART
• Livecasting การถ่ายทอดสด : Ustream.tv, Justin.tv, Skype
• Audio and Music Sharing เว็บที่มีการแชร์เพลงจากสถานีวิทยุ และเว็บเพลงหรือดนตรี เช่น imeem, The Hype Machine, Last.fm, ccMixter
ดังนั้น Social Media จะกลายเป็นประสบการณ์ที่ฝังลึกเข้ามาในกิจกรรมต่างๆ ของเรา - เราจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ จากอุปกรณ์หรือแพล็ตฟอร์มใดๆ ได้ไม่จำกัด เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้าง และผสมผสานเนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบของวิดีโอ, รูปภาพ และข้อความ ไปด้วยกันพร้อมๆ กับคนอื่นๆ ในสังคม ในทุกช่วงเวลาของวัน ไม่ว่าจะขณะทำงาน ขณะเล่นเกม หรือแม้แต่ตอนซื้อของช็อปปิ้ง ซึ่งก็จะทำให้เราเห็นความเคลื่อนไหวของผู้คนบนโลกราวกับว่าทุกสิ่งทุกอย่างปรากฎอยู่เบื้องหน้า
MULTI + MEDIA
1. ข้อความ (Text)
ข้อความเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย สามารถกำหนดรูปแบบต่างๆของข้อความให้มีความแตกต่างด้วยการใช้สี ขนาด และรูปแบบตัวอักษร ข้อความเป็นองค์ประกอบที่เหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่มีมากและสื่อความหมายได้ตรงและชัดเจน ข้อความสามารถผลิตได้จากหลายวิธี ทั้งการพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ การสแกน นอกจากนี้ยังสร้างข้อความที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) เพื่อเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นได้
2. ภาพนิ่ง (Still Image)
หมายถึง ภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากเทคนิคต่าง ๆ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพที่ได้จากการสแกน ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ ภาพสามารถสื่อความหมายเป็นภาษาสากล นอกจากนี้ยังใช้ถ่ายทอดเพื่อประกอบคำบรรยายได้ลึกซึ้งมากขึ้น ภาพหนึ่งภาพสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าข้อความหลายเท่า
3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพที่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ เฟรมแสดงต่อเนื่องกัน ภาพเคลื่อนไหวสร้างจินตนาการและกระตุ้นความสนใจได้ดีกว่าภาพนิ่ง แต่ภาพเคลื่อนไหวมีขนาดความจุของไฟล์มากกว่าภาพนิ่งหลายเท่า ภาพเคลื่อนไหวช่วยในการแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างดี โดยสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายกว่าการผลิตวิดีโอ อัตราการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30 เฟรมต่อวินาที
4. เสียง (Sound)
องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมัลติมีเดียคือเสียง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับงานมัลติมีเดีย สร้างความน่าสนใจ น่าติดตาม ทำให้เกิดความรู้สึกและอารมณ์ที่สอดคล้องไปกับเนื้อหาที่แสดงอยู่ ใช้นำเสนอประกอบกับข้อความบรรยาย ช่วยให้การสื่อสารกระจ่างมากยิ่งขึ้น
5. วิดีโอ (Video)
วิดีโอ เป็นองค์ประกอบที่เสริมสร้างความเข้าใจได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ สามารถนำเสนอภาพเหตุการณ์จริงอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมทั้งนำเสนอประกอบกับข้อความและเสียงได้อย่างสมบูรณ์มากกว่าสื่ออื่น ๆ แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้พื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
ข้อความเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย สามารถกำหนดรูปแบบต่างๆของข้อความให้มีความแตกต่างด้วยการใช้สี ขนาด และรูปแบบตัวอักษร ข้อความเป็นองค์ประกอบที่เหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่มีมากและสื่อความหมายได้ตรงและชัดเจน ข้อความสามารถผลิตได้จากหลายวิธี ทั้งการพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ การสแกน นอกจากนี้ยังสร้างข้อความที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) เพื่อเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นได้
2. ภาพนิ่ง (Still Image)
หมายถึง ภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากเทคนิคต่าง ๆ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพที่ได้จากการสแกน ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ ภาพสามารถสื่อความหมายเป็นภาษาสากล นอกจากนี้ยังใช้ถ่ายทอดเพื่อประกอบคำบรรยายได้ลึกซึ้งมากขึ้น ภาพหนึ่งภาพสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าข้อความหลายเท่า
3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพที่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ เฟรมแสดงต่อเนื่องกัน ภาพเคลื่อนไหวสร้างจินตนาการและกระตุ้นความสนใจได้ดีกว่าภาพนิ่ง แต่ภาพเคลื่อนไหวมีขนาดความจุของไฟล์มากกว่าภาพนิ่งหลายเท่า ภาพเคลื่อนไหวช่วยในการแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างดี โดยสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายกว่าการผลิตวิดีโอ อัตราการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30 เฟรมต่อวินาที
4. เสียง (Sound)
องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมัลติมีเดียคือเสียง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับงานมัลติมีเดีย สร้างความน่าสนใจ น่าติดตาม ทำให้เกิดความรู้สึกและอารมณ์ที่สอดคล้องไปกับเนื้อหาที่แสดงอยู่ ใช้นำเสนอประกอบกับข้อความบรรยาย ช่วยให้การสื่อสารกระจ่างมากยิ่งขึ้น
5. วิดีโอ (Video)
วิดีโอ เป็นองค์ประกอบที่เสริมสร้างความเข้าใจได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ สามารถนำเสนอภาพเหตุการณ์จริงอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมทั้งนำเสนอประกอบกับข้อความและเสียงได้อย่างสมบูรณ์มากกว่าสื่ออื่น ๆ แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้พื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)